About eMC

 

 


 
โครงการแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต
(EVAT x EGAT Electric Motorcycle Conversion Contest for Business Opportunity)
 
    ปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ภาครัฐให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมในการพัฒนาประเทศในอนาคต  และกำลังเป็นเทรนด์ที่จะเข้ามาแทนที่ยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในต่างประเทศมีการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากไม่ปล่อยมลพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงลงด้วย สำหรับในประเทศไทยรถยนต์ไฟฟ้ายังมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ทั่วไปการจะออกรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่จึงยังคงไม่ได้รับความนิยมมากนักเพราะต้องนำเข้าและต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
 
    ด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงในประเทศไทย มีผลทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเกิดปัญหามลพิษด้านก๊าซเรือนกระจกและฝุ่น PM 2.5 จากรถยนต์ที่มีระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นแนวโน้มของยานพาหนะที่มาแทนที่ยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในดังกล่าว จักรยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าได้ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น งานด้านการขนส่งรับจ้าง และการเดินทางในชีวิตประจำวัน เนื่องจากสามารถผ่านการจราจรที่ติดขัดได้ และราคาที่ไม่แพง เทคโนโลยีมีความซับซ้อนน้อย ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาทั้งด้านภาคการบริการและอุตสาหกรรมสามารถพัฒนาได้
 
    สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยมีเป้าหมายในการสนับสนุนการใช้งาน การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า จึงนำเสนอโครงการแข่งขันรถดัดแปลงจักรยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากอุตสาหรรมและผู้ประกอบการสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทั้งในรูปแบบของการนำรถยนต์แบบเดิมมาดัดแปลงและการพัฒนารถยานยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและผลิตโดยคนไทย การพัฒนารถยานยนต์ไฟฟ้าต้องใช้ความรู้ที่หลากหลายสาขา เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมระบบควบคุมและวิศวกรรมการผลิต เป็นต้น เพื่อให้เกิดพัฒนาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยจึงเห็นว่าควรจัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้เกิดการกระตุ้นและการพัฒนาบุคคากรให้มีความรู้ ความเข้าใจในรถยานยนต์ไฟฟ้า โดยจัดในรูปแบบกิจกรรมทั้งด้านการอบรมและการจัดการแข่งขัน เพื่อให้เกิดการออกแบบและผลิตรถยานยนต์ไฟฟ้าอย่างถูกต้องมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาการดัดแปลงและการออกแบบและการสร้างจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อพัฒนาถึงเชิงพาณิชย์ โดยจัดแข่งขันทั้งในภาคประชาชนและภาคสถาบันการศึกษา และสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
 

วัตถุประสงค์

  1. สร้างการรับรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้ากับภาครัฐ และภาคประชาชน
  2. ให้เกิดความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาจักรยานยนต์ไฟฟ้าตามหลักวิศวกรรม และความปลอดภัย
  3. ให้เกิดแนวคิดการออกแบบ และสร้างจักรยานยนต์ไฟฟ้าขึ้นภายในประเทศ
  4. เป็นแนวทางในการทำโมเดลธุรกิจด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นภายในประเทศไทย
  5. เพื่อเป็นการจับคู่ธุรกิจระหว่างนักลงทุนกับทีมงานผู้เข้าร่วมแข่งขัน
 

ความเป็นมาของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

    ปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ภาครัฐให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมในการพัฒนาประเทศในอนาคต ด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเกิดปัญหามลพิษด้านก๊าซเรือนกระจกและฝุ่น PM 2.5 จากรถยนต์และรถจักยานยนต์ที่มีระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นแนวโน้มของยานพาหนะที่มาแทนที่ยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในดังกล่าว ซึ่งประเภทกลุ่มรถจักยานยนต์มีการจดทะเบียนค่อนข้างมากในปัจจุบันและมีรถที่ไม่ได้ใช้งานเกิดขึ้นจำนวนมาก ดังนั้นสามารถนำรถจักรยานยนต์เหล่านั้นมาดัดแปลงเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการกระตุ้นและพัฒนาบุคลากรทั่วไปรวมถึงกลุ่มนักศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในรูปแบบการพัฒนาดัดแปลงรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทย ให้เกิดแนวคิดและการออกแบบในการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง และปลอดภัย รวมไปถึงการพัฒนารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และขยายผลเชิงธุรกิจเริ่มต้นใหม่ (Start Up)

 

การดำเนินงานที่ผ่านมา

    สืบเนื่องจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าได้ดำเนินการจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าดัดแปลงต้นแบบ เพื่อเป็นกรณีศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจ โดยสมาคมฯ เริ่มจัดทำตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560 โครงการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) จัดทำโดย สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และสนับสนุนโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามที่กระทรวงพลังงานได้วางมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558 – 2579 ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ปี 2579 รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านคัน เพื่อดําเนินการให้สอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าในระยะที่ 1 จึงมีแผนการส่งเสริมการใช้งานรถโดยสาร สาธารณะไฟฟ้า และการจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เพื่อเป็นสถานีนําร่องสําหรับรองรับยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และสร้างความเชื่อมั่นต่อการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยสนับสนุนเงินบางส่วนให้กับส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันการศึกษาของรัฐ หน่วยงานของรัฐประเภทอื่น และเอกชน (ที่ไม่ใช่ส่วนราชการ) ในการลงทุนส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ให้กับยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีจํานวนเป้าหมายอย่างน้อย 100 หัวจ่าย

 

 

Visitors: 419,218